ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของบลูม bloom’s taxonomy
Bloom’s
Taxonomy กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย
โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น
ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์
การประเมิน
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น
6 ระดับ
1. ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge)
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5. การสังเคราะห์ ( Synthesis)
6. การประเมินค่า ( Evaluation)
1.ความรู้ความจำ
ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง ๆ
จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้
สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
ตัวอย่างคำถาม
มุมที่กาง 90
องศา เรียกว่ามุมอะไร
ก. มุกฉาก
ข. มุมแหลม
ค. มุมป้าน
ง. มุมกลับ
2. ความเข้าใจ เป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
ตัวอย่างคำถาม “บ๊ะ” เป็นคำพูดในลักษณะใด
ก. ดุ
ข. ขู่
ค. โต้แย้ง
ง. ประหลาดใจ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
ตัวอย่างคำถาม เราสามารถรับประทานอาหารชนิดใด ทดแทนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้
ก. กล้วย
ข. ถั่วเหลือง
ค. มันสำปะหลัง
ง. เผือก
4. การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
ตัวอย่างคำถาม
สิ่งใดเกี่ยวข้องกับความจนมากที่สุด
ก. ขยัน
ข. รายได้ดี
ค. โรคภัย
ง. เกียจคร้าน
5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย
ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ
เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ
อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ
หรือ แนวคิดใหม่
ตัวอย่างคำถาม ข้อใดเป็นจริงโดยทฤษฎี แต่ไม่สามารถนำมาแสดงให้เห็นจริงได้
ก. ในอากาศมีน้ำ
ข. โลกดึงดูดวัตถุ
ค. โมเลกุลประกอบด้วยอะตอม
ง. ความร้อนเป็นพลังงาน
6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน
ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
ตัวอย่างคำถาม ในเรื่องสังข์ทอง นางรสนาเป็นคนประเภทใด
ก. ดี เพราะซื่อสัตย์ต่อสามี
ข. ดี เพราะเทวดาคอยช่วย
ค. ดี เพราะอยู่ในกระท่อมได้
ง. ดี เพราะไม่คิดเบียดเบียนใคร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น